ของดีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์


               ผ้าไหมเเพรวา การทอผ้าแพรว่านั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทอผ้าจก คือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืนแล้วสอดด้ายสี
ไปตามลายผ้าที่ต้องการลวด ลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสานอยู่บ้างที่แตกต่างกันก็มีความหลากหลายของ
สีสันในแต่ละลวดลายนั้นน้อยกว่าผ้าจกของชาวไทยพวน หรือไทยยวน แต่มีลักษณะรวมกันคือลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมแปียก
ปูน (อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า) ลวดลายของแพรวานั้นมีความหลากหลายพอๆ กับลายผ้าแบบอื่นขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์
ของช่างทอนั่นเองลานหลักๆ ก็เช่น ลายนาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ และมีลายแถบ เช่น ดอกดาวหมู่ ดอกแปดขอ เป็นต้น ใน
ผืนหนึ่งๆ จะลวดลายนับสิบลายการเรียงตัวของลายผ้านั้น เนื่องจากแพรวาใช้พาดในแนวตั้งลายผ้าจึงไล่ไปทางแนวตั้ง ขณะที่ผ้าจก
ลายผ้าจะไล่ไปแนวนอน ตามระดับการมองเมตร สำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ
               หมอนขิด เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านที่อยู่คู่กับท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์เพื่อใช้หนุนหนุนศรีษะขณะนอน ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่นใช้เป็นของชำร่วยในงาน
แต่งงานสำหรับผู้ใหญ่ที่นับถือในงานแต่งงานหมอนขิด เป็นผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้หญิง
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความชำนาญในการเย็บหมอนขิดดีพอ ๆ กับการทอผ้า
               ผ้าขาวม้า มีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก ใช้นุ่งแบบ
ลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอ
เป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี
               มะม่วงมหาชนก เป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทและมะม่วงหนังกลางวันซึ่งมีรสชาติรับประทานดิบ
จะเปรี้ยว รับประทานสุกจะหวาน ลูกผสมดังกล่าวก่อให้เกิดเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวของมะม่วงมหาชนกทั้งรูปลักษณะผลรสชาติ
ที่โดดเด่นออกไปกลายเป็นทางเลือกของตลาดผู้บริโภค
               โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะหรือเครื่องตี มีลักษณะคล้ายระนาดแต่แขวนในแนวดิ่ง เป็นที่นิยม
ในภาคอีสาน บาง ท้องถิ่นอาจเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือ เกราะลอ (ผู้เฒ่าผู้แก่ในถิ่นดงมูลอำเภอหนองกุงศรีเรียก 
"หมากเต๋อเติ่น") เป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) 
ประจำปี พ.ศ. 2529 ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทำการพัฒนาโปงลางจนมีลักษณะเช่นในปัจจุบัน โดยได้พัฒนาโปงลางขึ้นจากเกราะ
ลอ ซึ่งใช้เคาะส่งสัญญาณในท้องนา
 

ความคิดเห็น